-
เมล็ดพันธุ์ไผ่หน่อยักษ์ (เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี)
฿160.00 -
ลดราคา!
เมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเขียว
Original price was: ฿180.00.฿160.00Current price is: ฿160.00. -
ลดราคา!
เมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งสีม่วง – Purple Passion Asparagus
Original price was: ฿180.00.฿160.00Current price is: ฿160.00. -
เมล็ดพันธุ์มะนาวต้น – Lemon Tree
฿120.00
หน่อไม้ฝรั่ง
การให้น้ำ หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบให้น้ำท่วมหรือขังแฉะ ต้องมีทางระบายให้น้ำไหลออกจากแปลงได้เร็ว เมื่อฝนตากชุก ต้องคอยดูแลแปลงปลูกให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าฝนไม่ตกและดินแห้ง ควรให้น้ำอย่างน้อย 3 วันต่อครั้ง หรือให้น้ำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่ง(หลักการเบื้องต้นจะมีลักษณะคล้ายๆกับเมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งแบบอื่นๆ ซึ่งทาง Thailandseedshop.com ได้เสนอแนวทางการเพาะดังต่อไปนี้)
1.) นำเมล็ดหน่อไม้ฝรั่งแช่น้ำอุ่น (น้ำอุ่น คือน้ำเดือด 100 องศา 1 ส่วนผสมกับน้ำเย็น 1 ส่วน) นำเมล็ดไปแช่น้ำอุ่น 2 ชั่วโมง น้ำอุ่นจะช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ด
2.) หาภาชนะที่ปิดด้วยฝาได้สนิทสำหรับแช่ในตู้เย็น
3.)นำเมล็ดมาโรยบนทิชชู่ ใช้ทิชชู่ม้วนยาว ฉีก 2 แผ่น ซ้อนกันแล้วโรยเมล็ด บนทิชชู่ อย่าโรยเมล็ดแน่นจนเกินไปนะค่ะ
4.) พรมน้ำให้ทั่วกระดาษทิชชู่แล้ว แล้วประกอบเมล็ดอีก 1 ชั้นด้วยกระดาษทิชชู่แล้วพรมน้ำอีกที
5.) ปิดฝาภาชนะให้สนิทพร้อมกับแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาเป็นเวลา 1 คืน (ไม่ควรแช่ในช่องแช่แข็ง)
6.) หลังจาก 1 คืนแล้วอย่าเพิ่งเปิดฝา ควรนำภาชนะที่ใช้เพาะวางในอุณหภูมิห้องปกติ
1)วิธีเพาะกับถาดเพาะและปลูกเมล็ดเปปปิโน
1).ดินสวนผสมของดินดังต่อไปนี้
1.1)มูลสัตว์ 1 ส่วน ได้ขี้วัวจะดีมากค่ะ
1.2) แกลบดำ 1 ส่วน
1.3) ดิน 1 ส่วน
1.4) ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
2.) นำส่วนผสมทั้ง 4 ส่วนคลุกเคล้ากัน จนเป็นเนื้อเดียวกัน
3.) แนะนำให้หยอดเมล็ดให้เมล็ดตั้งเอียงทำมุม 45 องศา
สินค้าที่เกี่ยวข้องสำหรับการเพาะเมล็ดพันธุ์
4) ควรหมั่นรดน้ำ เช้า-เย็น
5). เมื่อต้นกล้าเริ่มโตควรย้ายลงไปปลูกในแปลงที่เตรียมเอาไว้ค่ะ
วิธีปลูกและเพาะหน่อไม้ฝรั่งแบบเพาะกล้าในแปลง (สำหรับใครที่ไม่ใช้ถาดเพาะกล้า)
1.)การเตรียมแปลงเพาะกล้า
แปลงเพาะกล้าควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสม ลักษณะแปลงเพาะกล้าที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
- ควรเป็นที่โล่งแจ้ง ไม่มีร่มเงาของต้นไม้ อาคารหรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
- เป็นที่ที่มีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขังเมื่อให้น้ำหรือมีฝนตก
- มีสภาพความเป็นกรดหรือด่างเหมาะสม ควรเป็นกลางหรือกรดเล็กน้อย (พีเอช 6.0-6.8)
- ไม่เป็นที่สะสมของโรค เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคลำต้นไม้ โรครากเน่าโคนเน่า
- ไม่เป็นที่สะสมของแมลง เช่น หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผักเพลี้ยไฟ
- ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
- ดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือปรับปรุงให้ร่วนซุยโดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่หมักสมบูรณ์แล้ว
- ควรเป็นที่ที่ปราศจากวัชพืช เช่น แห้วหมู หญ้าแพรก หญ้าปล้อง ฯลฯ หรือได้กำจัดวัชพืชจนหมดแล้ว เมื่อเลือกที่ได้แล้วทำการขุดหรือไถดินให้ลึก เก็บวัชพืชออกให้หมดและตากดินไว้ประมาณ 10-15 วัน จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและใส่วัสดุปรับปรุงดิน
2.) วัสดุปรับปรุงดิน
มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับสภาพของดินที่ใช้ในการเพาะกล้า ปกติมักจะเลือกใช้ดังนี้
- ปุ๋ยหมัก ควรเป็นปุ๋ยหมักเก่า (เมื่อเอามือซุกเข้าไปในกองปุ๋ยจะไม่รู้สึกร้อน)
- ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 หรือ 21-0-0
- ปูนขาว
- สารเคมีป้องกันกำจัดโรครา ได้แก่
– แคปแทน เช่น ออร์โธไซด์ แคปแทน 50 แคปตาไซด์ 50 ฯลฯ
– แมนโคเซ็บ เช่น ไดเทนเอ็ม 45 เชลล์เทนเอ็ม 45 เทนเอ็ม 45 ฯลฯ - สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่
– คาร์โบฟูแรน เช่น ฟูราดาน (ใช้พร้อมกับการหยดเมล็ดเท่านั้น)
– โมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน นูวาครอน คาร์วิน 56 ฯลฯ
– คาร์บาริล เช่น เซฟวิน เอส 85 เอสวิน 85 เซฟวิน เอฟ 3 เซฟวิน 85 ฯลฯ
– ไพรีทอยด์ เช่น แอมบุช พีราทอย ฯลฯ - แกลบ ฟาง
- บัวรดน้ำ
- อุปกรณ์การเตรียมแปลง จอบ คราด ไม้ปาดแปลง ไม้ชักร่อง
วัสดุปรับปรุงดิน ที่ใช้ต่อพื้นที่เพาะกล้า 1 ตารางเมตร คือ
ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2 กิโลกรัม
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 30 กรัม (10 ช้อนชา)
ปูนขาว 10 กรัม (3-4 ช้อนชา)
- คลุกเคล้าวัสดุปรับปรุงดิน ยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดกว้าง 1.5 เมตร (รวมร่องน้ำ) เกลี่ยดินบนแปลงให้เรียบ
- ทำร่องในแนวขวางแปลงโดยใช้ไม้ชักร่องกดลง (ไม้ชักร่องหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร) ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ให้แต่ละร่องห่างกัน 15-20 เซนติเมตร
3.) การหยอดเมล็ด
นำเมล็ดมาหยอดลงในร่องที่เตรียมไว้ หยอดเมล็ดเป็นจุด ๆ ละ 1 เมล็ดห่างกันจุดละ 10-15 เซนติเมตร โรยทับด้วยฟูราดานบาง ๆ ในร่อง จากนั้นกลบเมล็ดโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้เขี่ยดินขอบร่องลงกลบในร่องบาง ๆ แล้วใช้ฟางคลุมทับบนแปลงหนาพอประมาณ ละลายยาป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทนหรือแมนโคเช็บอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร ใส่บัวรดน้ำราดให้ทั่วแปลง จากนั้นรดน้ำตามให้ชุ่ม
4). การให้น้ำ
ระยะแรก ๆ จะต้องรดน้ำให้บ่อยครั้ง อย่าปล่อยทิ้งให้แปลงแห้ง หลังจากหยอดเมล็ดได้ประมาณ 10-15 วัน ต้นกล้าจะเริ่มงอก เปิดฟางออกบ้างให้เหลือฟางเพียงบาง ๆ เพื่อให้ต้นกล้างอกได้สะดวกหน่อไม้ฝรั่งต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอในการเจริญเติบโต วิธีการให้น้ำที่เหมาะสมสำหรับในแปลงเพาะกล้า คือควรให้น้ำแบบพ่นฝอยหรือสปริงเกอร์ แต่วิธีนี้จะใช้เงินลงทุนสูงมาก เกษตรกรจึงนิยมให้น้ำแบบอื่น ๆ เช่นปล่อยตามร่อง หรือใช้แบบปั๊มมีสายยางรด ซึ่งลงทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตามหลักการให้น้ำหน่อไม้ฝรั่ง คือต้องให้ต้นกล้าได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอไม่แฉะหรือแห้งจนเกินไป และอย่าให้น้ำฉีดถูกต้นอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้ต้นกล้าบอกช้ำทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย
5). การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยในระยะแรก ๆ จะให้ในรูปของปุ๋ยละลายน้ำ โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 10 กรัม (3-4 ช้อนชา) ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้สลับกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตราที่เท่ากัน ละลายปุ๋ยใส่บัวรดน้ำราดบนแปลงแล้วรดน้ำตามให้ชุ่มประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง ให้ประมาณ 3-4 ครั้ง จากนั้นเริ่มให้ปุ๋ยเม็ด สำหรับปุ๋ยเม็ดให้ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 15-20 กรัม (5-7 ช้อนชา) ต่อพื้นที่ปลูกประมาณ 1 ตารางเมตรใส่ปุ๋ยเม็ดเดือนละครั้ง ประมาณ 2-3 ครั้ง ใส่พร้อมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 200-300 กรัม ถ้าไม่มีแรงงานพอในการให้ปุ๋ยแบบละลายน้ำรด ในเดือนแรกให้ใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 10-15 กรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ตารางเมตร ในเดือนที่ 2 ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 15-20 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร ถ้าต้นแสดงอาการขาดไนโตรเจนคือมีอาการปลายยอดเหลือง จะต้องเพิ่มการให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ในอัตราเท่ากับเดือนแรก หลังจากนั้นให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราเท่ากันทุกเดือน โดยใส่ระหว่างร่องปลูก
ข้อควรระวังในการให้ปุ๋ย หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรให้น้ำตามอย่างพอเหมาะ เพื่อที่น้ำจะได้ไปละลายปุ๋ยให้เป็นประ โยชน์ต่อหน่อไม้ฝรั่ง การให้ปุ๋ยที่ถูกต้อง ควรใส่แบบฝังปุ๋ยลงในดินใกล้บริเวณรากหน่อไม้ฝรั่ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยให้ติดรากหน่อไม้ฝรั่งเพราะอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวได้
6). การกำจัดวัชพืช
หลังจากกล้าหน่อไม้ฝรั่งงอกแล้ว ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ การกำจัดวัชพืชในช่วงเดือนแรกของการเพาะกล้าควรทำอย่างระมัดระวังเพราะกล้าหน่อไม้ฝรั่งยังอ่อนแออยู่ หากกระทบกระเทือนอาจทำให้ต้นกล้าตายได้ การใช้มือถอนจะดีที่สุด การกำจัดวัชพืชบนแปลงกล้าไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช แต่ถ้าเป็นรอบ ๆ บริเวณแปลงเพาะกล้า หรือบริเวณทางเดินสามารถใช้สารเคมีได้โดยไม่เกิดปัญหาใด ๆ
7). การตัดแต่งต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่ง
การตัดแต่งต้นกล้าจะทำให้ต้นโปร่งขึ้น ไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง และสามารถพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้การตัดแต่งต้นจะทำให้มีการสะสมอาหารที่เหง้าและตามากขึ้น ทำให้เหง้าและตามีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นการตัดแต่งต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและมักจะทำเมื่อต้นกล้า อายุประมาณ 2 1/2 – 3 เดือนขึ้นไป
8). การพูนโคนต้นกล้า
ถ้าต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งมีเหง้าลอยพ้นดิน มักมีสาเหตุมาจากการที่หยอดเมล็ดตื้น หรือให้น้ำแบบสายยางฉีดรด หรือให้น้ำตามร่องจนชะดินลงมา ดังนั้นควรมีการตรวจแปลงกล้าอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบว่าต้นกล้าที่แตกขึ้นมาใหม่มีขนาดเล็กและเป็นฝอย รากและเหง้าเล็กลง ทำให้ได้ต้นกล้าที่ไม่สมบูรณ์ จึงควรทำการพรวนดินกลบเหง้า (พูนโคนต้น) ต้นกล้าด้วย
9). การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในระยะต้นกล้า
ในระยะนี้อาจมีโรค แมลงและหนอนต่าง ๆ เข้ามาทำลายบ้าง การป้องกันกำจัดก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นนับว่าเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ซึ่งทำได้โดยการฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงประมาณเดือนละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการระบาดของโรคและแมลงด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการเพาะหน่อไม้ฝรั่ง ที่ทาง Thailandseedshop ได้รวบรวมและเสนอเป็นแนวทางในการเพาะและปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ขอสงวนสิทธิ์และข้อมูลทั้งหมดเป็นของ Thailandseedshop.com ห้ามลอกเลียนแบบทั้งข้อมูลและภาพประกอบ